Monday, November 23, 2009

HTC Tatto

แอนดรอยด์โฟนรุ่นแรกที่ใช้จอแสดงผล QVGA พอดีกับขนาดตัวเครื่องที่เล็กกระทัดรัด ให้ความรู้สึกกระฉับกระเฉง ปรับแต่งให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ ด้วยกรอบที่สามารถถอดเปลี่ยนลวดลายได้ตามต้องการ ทันต่อเหตการณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยข่าวสาร และความบันเทิงจากวิทยุ FM ท้องถิ่น ง่ายเพียงเสียบชุดหูฟัง ผ่านช่องขนาด 3.5 มิลลิเมตร เก็บภาพความประทับใจผ่านกล้องความละเอียด 3 ล้านพิกเซล ให้โลกอินเตอร์เน็ตพร้อมไปกับคุณได้ในทุกที่ แชร์ประสบการณ์บน twitter facebook ผ่าน Wi-Fi, EDGE และ GPRS









น้ำหนักตัวเครื่อง 113 กรัม (รวมแบตเตอรี่)

ความยาว 106 มิลลิเมตร, กว้าง 55.40 มิลลิเมตร, หนา 14.30 มิลลิเมตร




ด้านบน มีช่องสำหรับเสียบชดหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร และช่องสอดสายคล้องคอ




ด้านข้างซ้าย มีปุ่มสำหรับเพิ่มและลดเสียง




ด้านล่าง มีช่องสำหรับต่อสาย USB แบบ extUSB™ และรูรับเสียงของไมโครโฟน









ด้านหน้า มีจอแสดงผลขนาด 2.8 นิ้ว ไฟแสดงสถานะถูกซ่อนอยู่หลังกรอบ จะกระพริบเมื่อมีการแจ้งเตือนสถานะต่างๆ

ปุ่มสำหรับสั่งการด้านหน้าตัวเครื่อง

• ปุ่ม Home

o กลับไปยังหน้าจอเริ่มต้นของหน้าจอหลัก (Home Screen)

o กดค้างไว้เพื่อแสดงหกโปรแกรมที่คุณเปิดใช้งานล่าสุด

• ปุ่ม Menu

o กดครั้งเดียวสำหรับแสดงเมนูเพิ่มเติมของโปรแกรมปัจจุบันที่เราใช้งานอยู่

o กดค้างไว้สำหรับแสดงแป้นพิมพ์บนหน้าจอหลัก

• ปุ่ม Back - กลับไปยังหน้าจอก่อนหน้านี้

• ปุ่ม Search - เข้าสู่โหมดการค้นหาของโปรแกรมปัจจุบันที่เราใช้งานอยู่

• ปุ่ม Calling - เข้าสู่โหมดการโทรออก

• ปุ่ม Holding

o กดครั้งเดียวสำหรับใช้วางสาย หรือพักหน้าจอ

o กด ค้างไว้สำหรับจัดการตัวเครื่อง เช่น ปิดเครื่อง, เข้าสู่โหมดปิดเสียง, เข้าสู่โหมดสั่น, เข้าสู่โหมดเครื่องบิน และเปิดปิดเครือข่ายข้อมูล

• ปุ่มบังคับทิศทาง 4 ทิศทางทรงวงแหวน และปุ่ม Enter ตรงกลาง






ด้านหลัง มีลำโพง และกล้องความละเอียดขนาด 3.2 ล้านพิกเซล






ถอดฝาหลัง มีที่ใส่แบตเตอรี่ขนาด 1100 mAh ที่บางเฉียบ ช่องเสียบซิมการ์ดแบบงัด และช่องสอดการ์ด microSD




ตัวเครื่องสามารถถอดเปลี่ยนกรอบได้




การเปิดเครื่อง ใช้เวลาในการบูตเครื่อง 59 วินาที เวลาในการค้นหาสัญญาณอีก 13 วินาที


รวมแล้วเวลาสำหรับเปิดเครื่องพร้อมใช้งานสำหรับการโทรออก 1:12 นาที (ขึ้นอยู่กับสถานที่ และระดับสัญญาณในแต่ละท้องถิ่น)

ปุ่มต่างๆ และการใช้งานอ่านได้จากด้านบน

การโทรออก










สามารถโทรออกได้โดยการกดปุ่ม Menu สองครั้ง (ถ้าพักหน้าจออยู่) แล้วกดปุ่ม Calling กดหมายเลขที่ต้องการโทร แล้วกด Call

หากต้องการเปิด Speaker Phone ก็สามารถทำได้ด้วยการกดปุ่ม Menu เพื่อให้ปรากฏตัวเลือกเพิ่มเติมต่างๆ แล้วเลือกไปที่ Speakerการส่งข้อความหรืออ่านข้อความ(SMS/MMS)สามารถเข้าไปใช้งานได้ที่โปรแกรม Message การใช้งานโปรแกรมที่แถมมาในเครื่อ



โปรแกรม Albums



เป็นโปรแกรมค้นหาไฟล์รูปภาพ และไฟล์วีดีโอที่อยู่ใน microSD เมื่อเปิดเข้าไปในหน้าแรกของโปรแกรมจะพบรูปภาพต่างๆ แบ่งออกมาเป็นหมวดๆ ให้ได้เลือกกดเข้าไปชมกัน แถบด้านล่างใช้สำหรับเข้าไปดูรูปภาพใน Facebook และ Flickr





เมื่อ กดปุ่ม Menu บนตัวเครื่องจะสามารถเข้าไปปรับแต่งค่าต่างๆ ของโปรแกรมได้ สามารถเลือกให้แสดงแทบของ Facebook และ Flickr หรือไม่ก็ได้ ในหน้าหลักให้แสดงอัลบัมในส่วนไหนบ้าง รวมทั้งปรับการแสดงสไลด์โชว์ของภาพ







การปรับแต่งรูปที่จะแสดงในหน้าแรกของโปรแกรม และการกำหนดการแสดงสไลด์โชว์

โปรแกรม Browser

เปิดประตูเข้าสู่โลกไซเบอร์ผ่านโปรแกรมนี้ เพื่อเข้าไปชมเว็บไซต์ต่างๆ ถึงแม้ HTC Tattoo จะไม่รองรับการซูมแบบใช้สองนิ้วซูมเข้าออกได้เหมือน HTC Hero แต่ก็สามารถซูมได้ด้วยการ กดไปที่หน้าเว็บ จะปรากฏปุ่มขึ้นมาให้เลือก ซูมเข้า ซูมออก แสดงอยู่ด้านล่างตรงกลางของหน้าจอ





ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Browser

กด ปุ่ม Menu บนตัวเครื่อง จะแสดงปุ่มสำหรับตัวเลือกต่างๆ จะเพิ่ม Bookmark หรือเปิดดูหน้าต่างเว็บที่เราเปิดค้างไว้อยู่ก็ได้ เมื่อเลือกไปที่ More ก็จะมีเมนูเพิ่มขึ้นมาให้เลือกอีกเยอะแยะ ทั้งการค้นหาข้อความที่อยู่ในเว็บเพจ การคัดลอกตัวหนังสือจากหน้าเว็บ การดูข้อมูลของเว็บเพจ การแชร์ URL ของหน้าเว็บนี้ เข้าไปดูไฟล์ที่เราเคยโหลดผ่านโปรแกรมนี้ ดูประวัติการเปิดเว็บเพจ และการเข้าไปปรับแต่งการใช้งานโปรแกรม



ตัวอย่างการค้นหาข้อความที่อยู่ในหน้าเว็บ ตัวเลือกในการแชร์หน้าเว็บ และหน้าประวัติการเข้าชมเว็บไซต์

เมื่อเข้าไปที่ เมนู Settings เราจะสามารถปรับแต่งการตั้งค่าของโปรแกรมได้ดังต่อไปนี้

• Set home page - กำหนดเว็บหน้าแรกเมื่อเปิดโปรแกรม

• Load images - กำหนดให้โปรแกรมโหลดรูปภาพด้วยหรือไม่ (ถ้าไม่เลือกก็จะเห็นหน้าเว็บเฉพาะข้อความ)

• Block pop-up windows - บล๊อคการป๊อบอัพหน้าต่างใหม่ (ไม่ให้มีหน้าต่างที่จะเด้งขึ้นมา)

• Mobile view - เปิดเว็บเพจในเวอร์ชั่นมือถือ (ถ้าไม่เลือกไว้มันก็จะแสดงในรูปแบบเหมือนเราเข้าดูผ่านคอมพิวเตอร์)

• Enable JavaScript - เปิดใช้งานจาวาสคริปท์

• Open in background - เปิดหน้าจอใหม่เป็นพื้นหลัง (ให้หน้าจอที่เราเปิดใหม่อยู่หลังหน้าจอปัจจุบัน)

• Default zoom - มาตรฐานระยะการซูม

• Text size - ขนาดของตัวหนังสือบนหน้าเว็บ

• Text encoding - การถอดรหัสตัวหนังสือ

• Clear all cookie data - ล้างข้อมูลคุ๊กกี้ทั้งหมด

• Clear cache - ล้างข้อมูลแคช

• Clear history - ล้างข้อมูลประวัติการเปิดเว็บ

• Clear form data - ล้างข้อมูลแบบฟอร์ม

• Clear password - ล้างข้อมูลรหัสผ่าน

• Remember password - เก็บบันทึกรหัสผ่าน

• Remember form data - เก็บบันทึกข้อมูลแบบฟอร์ม

• Show security warnings - แจ้งข้อความเตือนในกรณีที่เว็บไซต์มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย

• Accept cookies - อนุญาตให้เว็บไซต์สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลคุกกี้ได้

• Set cache size - ปรับขนาดที่เก็บไฟล์ชั่วคราวของเว็บไซต์

• Enable plugins - ใช้งานฟังค์ชั่นเพิ่มเติมต่างๆ ของโปรแกรมเบราว์เซอร์

• Gears settings - ปรับแต่งการใช้งานฟังค์ชั่น Gears (เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ของกูเกิล)

• Reset to default - รีเซ็ตกลับไปใช้ค่าเดิมของโปรแกรม

โปรแกรม Calculator

ทำให้โทรศัพท์ของคุณกลายเป็นเครื่องคิดเลขเครื่องเล็ก ที่สามารถคำนวณได้ 13 หลัก พร้อมทั้งมีหน้า ขั้นสูง (Advance) ให้ใช้งานสำหรับท่านที่ต้องการคำนวณตรีโกนมิติ และอื่นๆ







โปรแกรม Calendar

เป็นโปรแกรมสำหรับการนัดหมาย หรือเตือนความจำ ในกิจกรรมต่างๆ ของคุณ โดยตัวโปรแกรมนั้นจะมีการส่งข้อมูลไปยัง Google Calendar ทำให้สามารถกำหนดการแจ้งเตือนได้้หลายรูปแบบ แถมยังเพิ่มกิจกรรมไปยังปฏิทินของเพื่อนเราได้อีกด้วย เป็นการช่วยกันจำนัดหมายไปในตัว สีของกิจกรรม (สังเกตได้ดังรูป จะเปลีี่ยนไปตามปฏิทิน กำหนดได้ใน Google Caledar)



แสดงนัดหมายในแต่หละเดือน

จะ มีพยากรณ์อากาศบอกเราว่าเวลาที่เราได้นัดหมายไว้นั้น อากาศเป็นอย่างไร โดยเราสามารถเลือกเมืองที่แสดงได้ .. ทีแรกก็นึกว่าจะแสดงพยากรของสถานที่ที่เราจะไป แต่ไม่ใช่ครับ ที่ปุ่มเมนูมีการปรับแต่งอื่นๆ ซ่อนอยู่ ทั้งกำหนดการแจ้งเตือนของตัวเครื่อง กำหนดให้แสดงวันแรกของสัปดาห์เป็นวันอะไร...

โปรแกรม Camcorder

ใช้สำหรับการถ่ายภาพวีดีโอ เมื่อเข้าโปรแกรมไปแล้วจะอยู่ที่หน้าจอเตรียมถ่ายถ้าต้องการถ่ายวีดีโอก็กด ไปที่ปุ่ม Enter บนตัวเครื่อง (ปุ่มที่อยู่ตรงกลางวงแหวน)



ตัวอย่างหน้าจอการใช้โปรแกรม Camcorder

• ความละเอียดของวีดีโอสามารถเลือกได้ดังนี้

o Large (352 x 288)

o Medium (320 x 240)

o Small (176 x 144)

• White Balance ปรับได้ (Auto, Incendescent, Fluoresent, Daylight และ Cloudy)

• Encoding type สามารเลือกได้สองชนิด (H.263 และ MPEG4)

• ความยาวในการบันทึกวีดีโอสามารถเลือกได้

o กำหนดเป็นไบต์ (1MB และ 2MB)

o กำหนดเป็นเวลา (10 วินาที, 30 วินาที, 1 นาที, 2 นาที และ ไม่จำกัด)

• Image properties สามารถเลือกปรับแต่ง ความละเอียดสี ความอิ่มสี และความคมชัด ของภาพได้

• Effect สามารถเลือกกำหนดให้ภาพเป็น สีโทนเทา โทนซีเปีย หรือ โทนเนกกาทีฟ ก็ได้

• Flicker กำหนดความถี่ของแสง ได้สามแบบ (Auto, 50 Hz และ 60 Hz)

โปรแกรม Camera

ใช้ถ่ายภาพนิ่งเพื่อเก็บภาพประทับใจต่างๆ หรือจะแชร์ภาพเหตุการณ์ไปให้เพื่อนๆ ได้ชมกันบน Facebook หรือ Flickr ก็ได้





• ความละเอียดของภาพถ่ายสามารถเลือกได้ดังนี้

o 3 M (2048 x 1536)

o 1 M (1280 x 960)

o Small (640 x 480)

• ค่า ISO สามารถเลือกได้ (Auto, 100, 200, 400 และ 800)

• คุณภาพของภาพที่ต้องการสามารถเลือกได้ (High, Fine, Normal และ Basic)

• Self-timer (Off, 2 วินาที และ 10 วินาที)

• สามารถเลือกแปะข้อความบอกวันเวลาที่ถ่ายลงบนภาพได้

• เลือกบันทึกข้อมูลพิกัด GPS ลงในข้อมูลของภาพได้

• Image properties สามารถเลือกปรับแต่ง ความละเอียดสี ความอิ่มสี และความคมชัด ของภาพได้

• Effect สามารถเลือกกำหนดให้ภาพเป็น สีโทนเทา โทนซีเปีย หรือ โทนเนกกาทีฟ ก็ได้

• Flicker กำหนดความถี่ของแสง ได้สามแบบ (Auto, 50 Hz และ 60 Hz)

โปรแกรม Clock

นาฬิกาที่สามารถบอกเวลาได้ทั่วโลก สามารถเพิ่มเมืองที่ต้องการดูเข้าไปได้ ตั้งปลุกได้ ใช้เป็นนาฬิกาจับเวลาก็ได้



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Clock

• World Clock

o สามารถเพิ่มเมืองที่ต้องการดูเวลาได้

o ในหน้าแสดงผลสามารถเรียงเมืองได้ใหม่

• Alarm

o สามารถเพิ่มเวลาปลุกได้

o กำหนดได้ว่าจะให้ปลุกซ้ำเวลาไหน

o เลือกเปิดใช้งานหรือปิดใช้งานเวลาปลุกนั้นๆ ได้

• Stopwatch ใช้จับเวลา

• Timer ใช้กำหนดเวลานับถอยหลัง

โปรแกรม FM Radio

เปิดรับความบันเทิงจากการรับฟังวิทยุ FM ท้องถิ่น เสียบชุดหูฟังผ่านช่องเสียบสายขนาด 3.5 มิลลิเมตร แล้วก็คลิ๊กเข้าโปรแกรมนี้ เพื่อรับฟังรายการจากสถานีต่างๆ



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม FM Radio

• บันทึกสถานีได้ไม่จำกัด

• กำหนดชื่อของสถานทีลงใน Presets ได้

• ให้เครื่องสแกนหาสถานีอัตโนมัติได้

• ให้เสียงเพลงออกทางลำโพงหลังตัวเครื่องแทนหูฟังได้

• กำหนดให้เสียงที่ออกทางหูฟังเป็นเสียง โมโน หรือ สเตอริโอ ได้

โปรแกรม Footprints

บันทึกสถานที่ที่เคยไป เก็บความประทับใจเอาไว้ เอาไว้อวดเพื่อนๆ เมื่อได้เดินทางไปยังสถานที่นั้นแล้ว ก็คงจะอดไม่ได้ที่จะบันทึกไว้สักหน่อย ว่าเคยไปมาแล้ว แต่จะบันทึกยังไงให้จ๊าบดีหละ ถ้าเช่นนั้นก็โปรแกรมนี้เลย



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Footprints

เมื่อ เราอยากบันทึกภาพสถานที่ก็แค่เข้าไปที่โปรแกรม แล้วเลือกไปที่ Capture location โปรแกรมก็จะขึ้นหน้าจอสำหรับบันทึกภาพของสถานที่ เมื่อบันทึกภาพเสร็จ เราก็กรอกรายละเอียดว่าสถานที่นั้นเราไปทำอะไรยังไงที่นั่น ...

ที นี้พอมาวันหนึ่งมีคนพูดถึง Big Ben เราก็เอาขึ้นมาอวดได้เลยว่าเคยไปมาแล้วเนี้ย Big Ben อยู่ตรงนี้ แล้วก็โชว์ให้ดูเลยว่าเราไปที่ไหนมาบ้าง เนื่องจากโปรแกรมนั้นสามารถแสดงในรูปแบบของแผนที่ได้ ยิ่งไปมาหลายที่ ยิ่งมีชื่อสถานที่ปรากฏบนแผนที่เยอะ

โปรแกรม Gmail

เปิดเข้าไปอ่านจดหมายจาก Gmail ของกูเกิลจดหมายจะถูกซิงค์มาโดยตรงจากเซิฟเวอร์ ทำให้คุณไม่พลาดทุกการติดต่อ



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Gmail

• สามารถค้นหาจดหมายในกล่องได้ เผื่อว่าหาในหน้าแรกแล้วไม่เจอ

• จดหมายที่เราไม่สนใจหรือเห็นแล้วว่ามันเป็นสแปมเราก็สามารถเลือกแล้วกดแจ้งไปว่าเป็นสแปมได้

• สามารถจัดการลายเซ็นต์ท้ายจดหมายที่ออกจากเครื่องได้

• เลือกข้อมูลจดหมายที่ต้องการ ซิงค์ได้ว่าจะให้ดึงจากเซิฟเวอร์มากี่วัน

• หรือหากต้องการให้จดหมายที่เราแบ่งเก็บเป็นแฟ้มไว้ออกมาแสดงด้วยก็สามารถทำได้เช่นกัน

โปรแกรม Google Maps

เอาไว้ดูแผนที่ หรือจะใช้ในการค้นหาสถานที่ต่างๆ นำทางไปยังสถานที่ ใช้ดูว่าเพื่อนเราอยู่ที่ไหน และอื่นๆ อีกมากมาย



หน้าจอปกติ ฟังค์ชั่นเสริมต่างๆ การค้นหาสถานที่ และหน้ากำหนดรูปแบบแผนที่





ตัวอย่างการค้นหาเส้นทางเิดินรถของ ขสมก และการเดินทาง





ตัวอย่างฟังค์ชั่น Latitude ใน Google Map และการกำหนดการแจ้งเตือนการ Update ของเพื่อนๆ

โปรแกรม Google Talk

สำหรับขาแชททั้งหลายที่จะต้องไม่พลาดโปรแกรมนี้แน่ โดยจะใช้ Account ของ Google เป็นหลัก ตัวโปรแกรมและหน้าตา ดูเรียบๆ ใช้งานง่าย



แสดงตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม Google Talk

โปรแกรม Java

ใช้เปิดอ่านไฟล์โปรแกรมหรือเกมส์จาวาที่อยู่ใน microSD



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรมจาวา ที่มีความสามารถในการรันไฟล์ที่เขียนด้วยภาษาจาวาได้

โปรแกรม Mail

โปรแกรมอ่านอีเมลล์จากบันชีเมลล์ต่างๆ สามารถใช้งานได้หลายบัญชีรองรับ POP3 และ SMTP



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Mail

• ใช้งานอีเมลล์ได้หลายอีเมลล์พร้อมกัน

• กำหนดขนาดของตัวอักษร ลายเซ็น และบัญชีพื้นฐาน

• กำหนดการรับและส่งจดหมาย (จำนวนของจดหมายที่จะดึงมาจากเซิฟเวอร์)

• กำหนดการแจ้งเตือนเมื่อมีจดหมายเข้าได้

โปรแกรม Market

เปิดโปรแกรมนี้เพื่อเข้าสู่ศูนย์รวมแอปพลิเคชั่นออนไลน์ เมื่อเข้าไปจะมีแอปพลิเคชั่นต่างๆ มากมายให้คุณได้เลือกโหลดมาใช้งานกัน



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Market

• โปรแกรมต่างๆ จะถูกแบ่งออกเป็นหมวดๆ ในแต่หละหมวดสามารถเลือกให้แสดงเฉพาะโปรแกรมที่โหลดฟรีได้

• ในหน้า My Download จะแสดงรายชื่อโปรแกรมที่เราได้โหลดมาจากตลาด พร้อมบอกด้วยว่าโปรแกรมที่เราโหลดมานั้น มีตัวอัพเดทหรือยัง

โปรแกรม Messages

เป็นโปรแกรมสำหรับส่งและรับข้อความ SMS/MMS จากผู้ให้บริการเครือข่าย



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Message

โปรแกรม Music

สำหรับฟังเพลงที่เก็บอยู่ใน microSD



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Music

โปรแกรม Peep

ใช้เล่น Twitter ผ่านมือถือของคุณ







ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกร ม Peep

• การรับข้อความ Tweet นั้นสามารถกำหนดจำนวนทวีตที่โหลดมาแสดงได้

• กำหนดความถี่ในการตรวจเช็คทวีตใหม่ๆ

• เลือกโฮสสำหรับอัพโหลดรูปได้ (Twitpic หรือ Twitgoo) พร้องกำหนดคุณภาพของรูปภาพที่อัพโหลดได้

โปรแกรม People

ใช้จัดการรายชื่อผู้ติดต่อ กำหนดรายชื่อโปรด แบ่งกลุ่มของรายชื่อ แสดงกิจกรรมอัพเดทต่างๆ บน Facebook ของคนนั้น







ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม People

โปรแกรม Phone

ใช้โทรออกและรับสายสนทนา พร้อมทั้งสามารถกำหนดการโทรด่วนได้



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Phone

โปรแกรม Settings

มีไว้ใช้งานสำหรับการปรับแต่งค่าต่างๆ ของตัวเครื่อง และการตั้งค่าระบบ มีเมนู สำหรับปรับแต่งตัวเครื่องทั้งหมด แบ่งได้ดังนี้

1. Personalize - ปรับแต่งความเป็นตัวคุณ



1. Scenes - เปลี่ยนซีนหน้าจอหลักให้เหมาะกับการใช้งาน

2. Home wallpaper - เปลี่ยนพื้นหลังของหน้าจอหลัก

3. Lock screen wallpaper - เปลี่ยนรูปล๊อคสกรีน

4. Default ringtone - เปลี่ยนเสียงเรียกเข้า



2. Wireless controll - จัดการ Wi-Fi บลูทูธ โหมดเครื่องบินและเครือข่ายเคลื่อนที่



1. Airplane mode - เลิกใช้งานการเชื่อมต่อไร้สายทั้งหมด

2. Wi-Fi - เปิด Wi-Fi

3. Wi-Fi settings - ตั้งค่าและจัดการจุดเชื่อมต่อไร้สาย

 Wi-Fi - เปิด Wi-Fi

 Network notification - แจ้งให้ทราบเมื่อเครือข่ายเปิดใช้งานได้

4. Bluetooth - เปิด บลูทูธ

5. Bluetooth settings - จัดการการเชื่อมต่อตั้งค่าอุปกรณ์และความสามารถในการค้นพบ

 Bluetooth - เปิด บลูทูธ

 Device name - ชื่ออุปกรณ์

 Discoverable - ทำให้สามารถค้นพบอุปกรณ์ได้

 Scan for devices - สแกนหาอุปกรณ์

6. VPN settings - ตั้งค่าและจัดการเครื่อข่ายจำลอง

 Add VPN - เพิ่มเครื่อข่ายจำลอง

1. Add PPTN VPN

2. Add L2TP VPN

3. Add L2TP/IPSec PSK VPN

4. Add L2TP/IPSec CRT VPN

7. Mobile network - ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

8. Mobile networks - ตั้งค่าเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

 Data roaming - เชื่อมต่อกับบริการข้อมูลขณะโรมมิ่ง

 Data roaming sound - เสียงแจ้งเมื่อมีการใช้งานข้อมูลขณะโรมมิ่ง

 Access Point Names - ชื่อจุดเชื่อมต่อ

 Use only 2G network - ใช้งานเฉพาะเครือข่าย 2G

 Use only 3G network - ใช้งานเฉพาะเครือข่าย 3G

 Network operators - เลือกผู้ให้บริการเครือข่าย

 Enable always-on mobile - ใช้งานเครือข่ายข้อมูลตลอดเวลา

9. Mobile network sharing - แชร์เน็ตให้คอมพิวเตอร์



3. Call settings - ตั่งค่าการโทร



1. Fixed Dialing Numbers - จำกัดการโทร

 Enable FDN - ใช้งานการจำกัดการโทร

 Change PIN2 - เปลี่ยน PIN เพื่อใช้งาน FDN

 FDN list - จัดการรายการหมายเลขโทรศัพท์

2. Voicemail - ตั้งเบอร์โทรข้อความเสียง

3. Clear voicemail notification - เคลียร์การแจ้งเตือนของข้อความเสียง

4. Call forwarding settings - การโอนสาย

 Always forward - โอนทุกสายสนทนา

 Forward when busy - โอนเมื่อสายไม่ว่าง

 Forward when unanswered - โอนเมื่อไม่มีผู้รับ

 Forward when unreachable - โอนเมื่อไม่สามารถติดต่อได้

5. Call barring settings - จำกัดการใช้งาน

 All outgoing - ห้ามโทรออกทั้งหมด

 Outgoing international - ห้ามโทรออกไปต่างประเทศ

 Outgoing international roaming - ห้ามโทรออกไปต่างประเทศขณะโรมมิ่ง

 All incoming - ห้ามรับสาย

 Incoming calls when roaming - ห้ามรับสายขณะโรมมิ่ง

 Deactivate all - ยกเลิกข้อห้ามทั้งหมด

6. Additional call settings - ตั่งค่าการโทรเพิ่มเติม

 Caller ID - การแสดงหมายเลข

1. Network default - ค่าปริยายของเครือข่าย

2. Hide number - ซ่อนการแสดงหมายเลข

3. Show number - แสดงหมายเลข

 Call waiting - ให้คนโทรเข้ารอสาย (ในกรณีที่ติดสายอยู่)

7. Phone settings - ตั้งค่าโทรศัพท์

 Edit default message - กำหนดข้อความปฏิเสธ

 Edit message - แก้ไขข้อความก่อนส่ง

 Save to contacts - เพิ่มเบอร์โทรที่ไม่รู้จักหลังจากการโทร

8. Cell broadcast - เปิดรับข้อความเครือข่าย

9. Cell broadcast settings - กำหนดการรับข้อความเครือข่าย

 Recive channel list - เลือกช่องสัญญาณที่ต้องการรับ

 Language - เลือกภาษาที่ต้องการรับ

 Add channel - เพิ่มช่องสัญญาณเอ



4. Sound & display - เสียงและการแสดงผล



1. Silent mode - ปิดเสียงทั้งหมด ยกเว้นมีเดียและการปลุก

2. Ringer volume - ตั้งค่าระดับเสียงสำหรับสายเรียกเข้าและการแจ้ง

3. Media volume - ตั้งค่าระดับเสียงสำหรับเพลงและวีดีโอ

4. Phone ringtone - ตั้งค่าเสียงเรียกเข้าเริ่มต้น

5. Phone vibrate - สั่นโทรศัพท์เมื่อมีสายโทรเข้า

6. Notification ringtone - ตั้งค่าเสียงแจ้งเตือน

7. Audible touch tones - เกิดเสียงเมื่อใช้ปุ่ม

8. Audible selection - เกิดเสียงเมื่อเลือกหน้าจอ

9. SD card notifications - ใช้งานเสียงแจ้งการเสียบ microSD

10. Orientation - สลับแนวการแสดงผลอัตโนมัติเมื่อหมุนโทรศัพท์

11. Animation - แสดงการเปลี่ยนหน้าจอ

12. Brightness - ปรับความสว่างของหน้าจอ

13. Screen timeout - ปรับการหน่วงเวลาหน้าจอดับอัตโนมัติ

14. Notification flash - เปิดให้มีการกระพริบไฟแสดงสถานะ

 Missed call - กระพริบมีสายไม่ได้รับ

 SMS/MMS - กระพริบเมื่อมีข้อความเข้า

 Email - กระพริบเมื่อมีอีเมลล์เข้า

 Voice Mail - กระพริบเมื่อมีข้อความเสียงเข้า

 Reminders - กระพริบเมื่อมีการแจ้งเตือนความจำ





เสร็จสิ้นการปรับแต่งประสิทธิภาพการสัมผัสหน้าจอ

15. Calibration - ปรับแต่งประสิทธิภาพในการสัมผัสหน้าจอ

16. G-Sensor calibration - ปรับแต่งระดับตำแหน่งแนวระนาบของตัวเครื่อง



5. Data synchronization - การซิงค์ข้อมูล



1. Google - ปรับแต่งและซิงค์ข้อมูลจากกูเกิล

2. Exchange ActiveSync - ซิงค์ข้อมูลกับเอ็กเชนจ์ แอ็กทีฟซิงค์

3. PC - ซิงค์ข้อมูลกับคอมพิวเตอร์พีซี



6. Location - การแสดงตำแหน่ง



1. Use wireless networks - ใช้ตำแหน่งจาก Wi-Fi และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

2. Enable GPS satellites - ใช้งานดาวเทียม GPS

3. Share with Google - อนุญาตให้กูเกิลทราบตำแหน่งของคุณ



7. Search - กำหนดการค้นหา



1. Google search settings - ตั้งค่าการค้นหาของกูเกิล

 Show web suggestions - แสดงเว็บแนะนำหรือเกี่ยวข้อ

 Search history - จัดเก็บประวัติการค้นหา

 Manage search history - จัดการประวัติการค้นหา

2. Searchable items - กำหนดสิ่งที่ต้องการค้นหาในกล่องค้นหาบนหน้าจอหลัก

 Browser - ค้นหาเว็บไซต์จากโปรแกรมเบราว์เซอร์

 Apps - ค้นหา Application ที่ติดตั้งในเครื่อง

 Footprints - ค้นหาฟูตปริ้น

 Seach settings - ปรับแต่งการค้นหา

 Messages - ค้นหาข้อความ

 Peep - ค้นหาทวีต

 Music/FM Radio - ค้นหาเพลงหรือสถานีวิทยุ

 Calendar - ค้นหากิจกรรมในปฏิทิน

 Mail - ค้นหาจดหมาย

 People - ค้นหารายชื่อผู้ติดต่อ

3. Clear search shortcuts - ล้างข้อมูลทางลัดการค้นหา



8. Connect to PC - กำหนดการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์พีซี



1. Default connection type - กำหนดค่าปริยาย

 HTC Sync - เชื่อมต่อกับเอซทีซีซิงค์

 Disk drive - เชื่อมต่อเพื่อโอนย้ายข้อมูล microSD

 Mobile network sharing - เชื่อมต่อเพื่อแชร์อินเตอร์เน็ต

2. Ask me - กำหนดให้มีการถามทุกครั้งที่เชื่อมต่อสายส่งข้อมูล



9. Security - กำหนดความปลอดภัย



1. Require pattern - ต้องวาดแบบเพื่อปลดล๊อคหน้าจอ

2. Use visible pattern - แสดงแบบที่วาด

3. Use tactile feedback - ใช้การตอบสนองเมื่อสัมผัส





หน้าจอปลดล๊อคหลังจากที่ได้ตั้งค่าระบบไว้

4. Set unlock pattern - ตั้งค่าแบบในการปลดล๊อค

5. Set up SIM card lock - ตั้งค่าการล๊อคซิมการ์ด

 Lock SIM card - ใช้งานการล๊อคซิมการ์ด

 Change SIM PIN - เปลี่ยนรหัส PIN

6. Visible passwords - แสดงรหัสผ่านให้มองเห็น (ขณะกำลังกด)

7. Use secure credentials - สงวนสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของโปรแกรมในเครื่อง

8. Set password - กำหนดรหัสผ่านในการเข้าใช้ข้อมูล

9. Clear storage - ล้างการจัดเก็บ



10. Social networks - เครือข่ายสังคมออนไลน์



1. Fackbook

2. Flickr

3. Twitter



11. Applications - การจัดการโปรแกรม



1. Unknown sources - อนุญาตให้ติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ทราบแหล่งที่มา

2. Manage applications - จัดการและลบโปรแกรมที่ติดตั้งแล้ว

3. Development - ตั้งค่าตัวเลือกสำหรับการพัฒนาโปรแกรม

 USB debugging - โหมดดีบั๊กเมื่อเชื่อมต่อ USB

 Stay awake - แสดงหน้าจอเสมอ

 Allow mock locations - อนุญาตให้จำลองตำแหน่ง



12. SD card & phone storage - การ์ดจัดเก็บข้อมูล และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของตัวเครื่อง



1. Total space - พื้นที่ว่างโดยรวมของการ์ด

2. Available space - พื้นทีี่ว่างที่ใช้ได้

3. Unmount SD card - ยกเลิกการเชื่อมต่อการ์ด

4. Format SD card - ฟอร์แม็ต (ลบข้อมูล) การ์ด

5. Available Space - พื้นที่ว่างในตัวเครื่อง

6. Factory data reset - ลบข้อมูลทั้งหมดในโทรศัพท์



13. Date & time - วันที่และเวลา



1. Automatic - อัตโนมัติ

2. Set date - ตั้งวันที่

3. Select time zone - เลือกโซนเวลา

4. Set time - ตั้งเวลา

5. Use 24-hour format - ใช้งานรูปแบบ 24 ชั่วโมง

6. Select date format - เลือกรูปแบบวันที่



14. Local & text - ภาษาและข้อความ



1. Select locale - เลือกภาษาและภูมิภาค

 English (Thailand) - ภาษาอังกฤษภูมิภาคไทย

 English (Philipppines) - ภาษาอังกฤษภูมิภาคฟิลิปปินส์

2. CN Thai keyboard - กำหนดการใช้งาน CN คีย์บอร์ดไทย

 Thai keyboard types - ลักษณะของคีย์บอร์ด

 Mini Kedmanee - เกษมณีแบบสามบรรทัด

 Full Kedmanee - เกษมณีแบบเต็มสี่บรรทัด

 Vibrate when typing - ให้เครื่องสั่นเมื่อมีการกด

 Auto-capitalization - กำหนดอักษรแรกเป็นตัวใหญ่อัตโนมัติ

 Version infomation - ดูข้อมูลเวอร์ชั่นของโปรแกรม

 Show suggestions - ระบบช่วยสะกดคำ

 Auto-complete - ช่วยสะกดคำอัตโนมัติ

3. Touch Input Chinese - แป้นพิมพ์รองรับตัวอักษรภาษาจีน

 QWERTY keyboard - แสดงในรูปแบบแป้น QWERTY

 Phone keypad - แสดงในรูปแบบแป้นหมายเลขของโทรศัพท์

 Select Chinese input - เลือกการเขียนตัวอักษร

 Handwriting - วาดตัวอักษร

 PinYin - สะกดจากแป้นพิมพ์

 Stroke - สะกดจากคำต้น

 Chinese input settings

 Chinese mode - โหมดของภาษาจีน

 Traditional only - ดั้งเดิมเท่านั้น

 Simplified only - ประยุกต์เท่านั้น

 Both - ทั้งคู่

 Full width - ให้ตรวจจับทั้งสัญญาลักษณ์ และ

 Pen color - สีของปากกา

 Pen width - ขนาดของหัวปากกา

 Recognize waiting - เวลารอเพื่อเทียบตัวอักษร

 Traditional chinese - เลือกเป็นจีนดั้งเดิม

 Simplified chinese - เลือกเป็นจีนประยุกต์

 Support Fuzzy

 English input settings

 Prediction - ช่วยสะกดคำ

 Spell correction - ช่วยสะกดคำผิด (เปลี่ยนเป็นคำที่ถูกให้)

 Sound feedback - มีเสียงตอบสนองการกด

 Vibration when typing - สั่นตอบสนองเมื่อกด

 Calibration tool - การปรับเทียบนิ้วมือ

 Reset calibration - รีเซ็ตการปรับเทียบนิ้วมือ



15. Accessibility



16. Speach synthesis - การออกเสียง (เสียงพูดของตัวเครื่อง)



1. Listen to an example - แสดงตัวอย่างการออกเสียง

2. Install voice data - ติดตั้งข้อมูลการออกเสียง

3. Always use my settings - ใช้การตั้งค่าข้อมูลนี้ตลอด

4. Speech rate - ความเร็วของคำพูด

5. Language - ภาษา



17. About phone - เกี่ยวกับเครื่องโทรศัพท์



หน้าจอแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเครื่อง

1. System software updates - กำหนดการอัพเดทซอฟต์แวร์สามารกเลือกได้สามแบบ

 Download automatically - ให้ดาวน์โหลดได้อัตโนมัติ

 Prompt before download - แจ้งให้ทราบก่อนดาวน์โหลด

 Never - ไม่โหลดเลย

2. Status - ข้อมูลสถานะของตัวเครื่อง

 Battery status - สถานะของแบตเตอรี่

 Battery level - ระดับพลังงานของแบตเตอรี่ (แสดงเป็นขีด)

 IMEI - หมายเลข IMEI ของตัวเครื่อง

 IMEI SV - หมายเลข IMEI SV ของตัวเครื่อง

 Wi-Fi MAC address - เลขทะเบียน MAC ของ Wi-Fi

 Bluetooth addrees - เลขทะเบียน Bluetooth

 My phone number - เบอร์โทรศัพท์ของคุณ

 Network - ประเภทของสัญญาณเครือข่าย

 Signal strength - ระดับของสัญญาณ

 Mobile network type - ประเภทของเครือข่ายข้อมูล

 Service state - สถานะการให้บริการ

 Roaming - การโรมมิ่ง

 Mobile network state - สถานะของเครือข่ายข้อมูล

 Up time - ระยะเวลาตั้งแต่เปิดเครื่อง

3. Battery use - แสดงสถิติการใช้งานพลังงานแบตเตอรี่ของโปรแกรม

4. Legal information - ข้อกำหนดและการอนุญาต

 HTC legal - ข้อกำหนดของทาง HTC

 Open source licenses - การอนุญาตของซอฟต์แวร์เปิด

 Google legal - ข้อกำหนดของทาง Google

5. System tutorial - แนะนำระบบ

6. Model number - แบบของตัวเครื่อง

7. Firmware version - เวอร์ชั่นของเฟิร์มแวร์

8. Baseband version - เวอร์ชั่นพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนา

9. Kernel version - เวอร์ชั่นของแกนกลางระบบ

10. Build number - เวอร์ชั่นที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน

11. Software version - เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์

โปรแกรม USB to PC

ปรับแต่งการตั้งค่าเมื่อเสียบสาย USB เข้ากับตัวเครื่อง เพื่อที่จะกำหนดว่าคุณต้องการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องเพื่ออะไร สามารถเลือกได้สามแบบ

1. เชื่อมต่อเพื่อใช้งาน HTC Sync สำหรับซิงค์ข้อมูล Calendar, Contact *

2. เชื่อมต่อเพื่อโอนย้ายไฟล์ใน microSD

3. เชื่อมต่อเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตจากเครื่อง *

ทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้งโปรแกรม HTC Sync ก่อนจึงจะสามารถใช้งานฟังค์ชั่นแรกและฟังค์ชั่นที่สามได้



ภาพซ้ายคือหน้าจอโปรแกรมปกติ หากเราติ๊กเลือกที่ Ask me เมื่อมีการเสียบสายก็จะปรากฏหน้าจอตามภาพขวา

โปรแกรม Voice Recorder

ใช้เป็นเครื่องอัดเสียงและเล่นเสียงที่ได้อัดไว้



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Voice Recoder

โปรแกรม Weather

เป็นโปรแกรมสำหรับดูการพยากรณ์อากาศ สามารถดูการพยากรณ์ได้ล่วงหน้า 4 วัน แล้วยังเพิ่มการแสดงข้อมูลการพยากรณ์ในเมืองต่างทั่วโลกได้อีกด้วย เมืองต่างๆ ที่เครื่องมีมาให้แล้วก็จะเป็น ห้าเมืองหลักของประเทศไทย โปรแกรมนี้มีวิดเจ็ทใช้แสดงบนหน้าจอหลักด้วย



ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานโปรแกรม Weather และ Widget ของโปรแกรม

โปรแกรม Youtube

โปรแกรมสำหรับเข้าชมคลิปวีดีโอและความบันเทิงต่างๆ บน youtube.com วีดีโอจะถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกชม ถ้าคิดว่าหาแบบนั้นช้าไม่ทันใจก็สามารถพิมพ์คำค้นหาคลิปได้ หากใครที่มีบัญชีของ Youtube อยู่ ก็สามารถเข้าใช้งานในส่วนของการอัพโหลดวีดีโอที่เราถ่ายขึ้นไปเก็บไว้บน youtube ได้เลย



แสดงหน้าจอการทำงานของโปรแกรม

HTC Tattoo มาพร้อมกับ Android Donut 1.6 with HTC Sense ที่มีจุดเด่นอยู่ดีความรวดเร็วต่อการตอบสนองการสัมผัส ทำให้ลืมไปเลยว่ากำลังใช้งานมือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการอยู่

HTC Sense สำหรับ HTC Tattoo ถึงแม้คล้ายกับ HTC Sense ใน HTC Hero แต่ก็ยังแอบมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ด้วยขนาดหน้าจอที่เล็กกว่าจึงทำให้มีการปรับแต่ง UI ขึ้นมาใหม่เพื่อให้เหมาะกับขนาดของหน้าจอ







หน้าจอหลักมีทั้งหมด 7 ด้านด้วยกัน สามารถเปลี่ยนไปหน้าจอข้างเคียงได้ด้วยกดค้างไปที่หน้าจอแล้วเลื่อน

จะดูว่าในเครื่องเรามีโปรแกรมอะไรบ้างก็สามารถทำได้เพียงกดไปที่เครื่องหมายหัวลูกศรชี้ขึ้น



เลือกแสดงได้สองแบบคือ แบบตาราง และแบบรายการ



กดปุ่ม Menu ปรากฏตัวเลือกต่างๆ สำหรับปรับแต่งตัวเครื่อง

สามารถเปลี่ยน Scenes ของหน้าจอให้เข้ากับอารมณ์ของคุณได้

เฉพาะเครื่องที่ใช้งานซิม AIS อยู่ จะมี Scense AIS เพิ่มขึ้นมา

ตัวอย่าง Scense ต่างๆ และภาพล๊อคหน้าจอ







Scense HTC





Scense Social





Scense Work





Scense Travel





Scense Play





Scense Clean State (เป็นหน้าจอว่างๆ เพื่อให้เราเลือกวางวิดเจ็ดได้ตามต้องการอย่างเต็มที่)

สามารถ นำรูปภาพใน microSD มาเปลี่ยนพื้นหลังของหน้าจอหลักซีนต่างๆ ได้ หรือจะเลือกจาก แกเลอรี่ภาพพื้นหลังที่มีมาให้ทั้งหมด 19 รูปก็ได้ โดยมีพื้นหลังในแกเลอรี่ให้เลือกดังนี้











นอก จากพื้นหลังของหน้าจอหลัก บนหน้าจอ Lockscreen นั้นตามปกติจะเปลี่ยนพื้นหลังไปตาม Scense ที่เราเลือกแล้ว แต่เราก็ยังจะสามารถเลือกรูปจาก microSD มาเป็นพื้นหลังแทนได้เช่นกัน แล้วยังมีการแสดงสถานะต่างๆ บน Lockscreen เช่น เพลงปกเพลงที่กำลังเล่นอยู่พร้อมชื่อเพลง, ข้อความ SMS ที่เข้ามาใหม่, ข้อความอีเมลล์ที่เข้ามาใหม่ เป็นต้น

การเพิ่มวิดเจ็ทสามารถทำได้โดยการกดที่ปุ่ม + ด้านล่างขวาของหน้าจอ เพื่อเพิ่ม ไอเท็ม (Item) ต่างๆ

ไอเท็มนั้นสามารถสร้างได้สองรูปแบบคือ เป็น ไอค่อน (Icon) หรือจะเป็น วิดเจ็ด (Widget) ที่สามารถเพิ่มได้แบ่งตามหมวดได้ดังนี้

Shortcut - ทางลัด

• Bookmark - สร้างไอค่อนบุคมาร์คที่อยู่ของเว็บที่สร้างไว้ออกมาสร้างเป็นไอค่อนไว้บนหน้าจอ

• Gmail label - สร้างทางลัดไปยังป้ายกลุ่มของจดหมายที่เราตั้งไว้ใน Gmail

• Mail Inbox - สร้างทางลัดเข้าสู่กล่องจดหมายของเรา (กล่องจดหมายของโปรแกรม Mail)

• Music plalist - สร้างทางลัดเข้าสู่รายการเพลงที่เราต้องการ

• Person - สร้างทางลัดเพื่อติดต่อไปยังรายชื่อผู้ติดต่อที่เราเลือก

• Program - สร้างทางลัดเพื่อเปิดโปรแกรมที่เราเลือก

• Settings - สร้างทางลัดเข้าไปปรับแต่งระบบในส่วนที่ต้องการ

HTC Widget - วิดเจ็ดเสริมต่างๆ ของเอชทีซี

• Bookmarks - แสดงบุ๊คมาร์กบนหน้าจอหลัก

• Calendar - แสดงปฏิทินบนหน้าจอหลัก

• Clock - แสดงนาฬิกาบนหน้าจอหลัก

• Footprints - แสดงรูปสถานที่ที่เคยไปบนหน้าจอหลัก





No comments:

Post a Comment